TNI LOGO

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจแบบญี่ปุ่น)

Master of Business Administration Program in Japanese Business Management

กลุ่มแขนงการจัดการระบบการผลิตและโลจิสติกส์แบบลีน

Lean Manufacturing System and Logistics Management (LMS) : JMBA-LMS


Thai-Nichi Institute of Technology

Master of Business Administration Program in Japanese Business Management

" Lean Manufacturing System and Logistics Management : JMBA-LMS "

เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นในการเรียนการสอนในศาสตร์การบริหารจัดการแบบญี่ปุ่นและแบบสากลมาประยุกต์ใช้กับการบริหารจัดการในปัจจุบัน โดยหลักสูตรนี้มีจุดเด่นในการเรียนระบบการผลิตแบบโตโยตา การออกแบบระบบดิจิทัลสำหรับการผลิตแบบลีน การผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์แบบลีน ทำให้ผู้เรียนในหลักสูตรนี้มีความเข้าใจแนวคิด และหลักการจัดการสำหรับผู้ประกอบการทั้งในองค์กรแบบญี่ปุ่นและแบบสากล โดยผ่านการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิมากประสบการณ์ในองค์กรธุรกิจญี่ปุ่น ดังนั้น หลักสูตรจึงมุ่งผลิตนักบริหารที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการบริหารแบบแบบญี่ปุ่นและแบบสากล และสามารถบริหารจัดการการผลิตในธุรกิจอุตสาหกรรมเพื่อการบริหารจัดการองค์กรหรือธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ

+ รายละเอียดเพิ่มเติม

 สมัครเรียน  กลับหน้าหลัก

จุดเด่นของหลักสูตร

1. ผู้เรียนจะได้เรียนรู้หลักการบริหารธุรกิจแบบญี่ปุ่นและแบบสากลสมัยใหม่
2. ผู้เรียนจะได้เรียนรู้กลยุทธ์การผลิตแบบโตโยตา การผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์แบบลีน การออกแบบระบบดิจิทัลสำหรับการผลิตแบบลีน
3. ผู้เรียนจะได้เรียนหลักการบริหารธุรกิจกับอาจารย์พิเศษผู้เชี่ยวชาญการบิหารธุรกิจจากองค์กรญี่ปุ่นที่มาลงทุนในประเทศไทย และอาจารย์พิเศษผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่น
4. ผู้เรียนจะได้นำความรู้จากการเรียนองค์รวมของการบริหารธุรกิจเข้าไปวินิจฉัยสถานประกอบการจริง เพื่อนำความรู้จากภาคทฤษฎีสู่ภาคปฏิบัติ และแก้ไขปัญหาของธุรกิจได้อย่างเหมาะสม
5. ได้ศึกษาและเรียนรู้การบริหารและการจัดการธุรกิจโดยใช้แนวคิดการบริหารธุรกิจแบบญี่ปุ่นในสถานประกอบการจริง

เรียนหลักสูตรนี้แล้วได้อะไร

1. ได้เรียนรู้หลักการบริหารธุรกิจแบบญี่ปุ่นและแบบสากล
2. ได้เรียนรู้กลยุทธ์การผลิตแบบโตโยตา การออกแบบระบบดิจิทัลสำหรับการผลิตแบบลีน
3. ได้เรียนรู้วัฒนธรรมการทำงานแบบญี่ปุ่น และการบริหารจัดการธุรกิจ
4. นำความรู้ที่ได้จากการเรียนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติไปวางแผน ปรับปรุง แก้ไขปัญหาธุรกิจได้อย่างเหมาะสม

คุณสมบัติ


สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขา หรือคุณสมบัติอื่นเทียบเท่า
มีหรือไม่มี ประสบการณ์การทำงาน

ค่าลงทะเบียนตลอดหลักสูตร


แผนวิชาการ ประมาณ 189,000 บาท
แผนวิชาชีพ ประมาณ 189,000 บาท
**ไม่รวมค่ารายวิชาปรับพื้นฐาน**

รายละเอียดเพิ่มเติม

วัน-เวลาเรียน


วันอาทิตย์
เวลา 09.00 – 19.00 น.
ยกเว้นบางรายวิชาที่ต้องเข้าสถานประกอบการอาจจะต้องเข้าวันเสาร์ **

โอกาสในการประกอบอาชีพหลังจากสำเร็จการศึกษา

1. บริหารสมัยใหม่ ที่สามารถบริหารกลยุทธ์ของธุรกิจอุตสาหกรรมเพื่อมุ่งสู่นวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตและโลจิสติกส์แบบลีน
2. นักอุตสาหกรรม ที่มีความรู้ในธุรกิจอุตสาหกรรม พัฒนาธุรกิจเดิม ออกแบบและสร้างธุรกิจอุตสาหกรรมใหม่ในเชิงความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
3. ผู้จัดการและผู้อำนวยการด้านการผลิต โดยมีความรู้ในด้านการเพิ่มผลิตภาพด้วยเทคโนโลยีระบบการผลิตและโลจิสติกส์แบบลีน ระบบคุณภาพ การสร้างมูลค่าเพิ่มและนวัตกรรมในกระบวนการทำงาน และการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์การ
4. นักวิจัย เพื่อวินิจฉัยและแก้ไขปัญหา ปรับปรุงกระบวนการทำงาน ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการทางธุรกิจใหม่ๆ เพื่อสร้างศักยภาพและพัฒนาความสามารถหลัก (Core Competence) ให้แก่องค์การ
5. ประกอบธุรกิจส่วนตัวทางด้านอุตสาหกรรมและการพัฒนานวัตกรรมด้านการจัดการอุตสาหกรรม
6. ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ
7. อื่นๆ

ห้องปฏิบัติการ

ห้องปฏิบัติการ TPS SIMULATION TRAINNING
Lean Automation & Logistics Lab.

รายชื่ออาจารย์

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
  • ผศ. วิฐิณัฐ ภัคพรหมินทร์ : ผู้อำนวยการหลักสูตร
  • รศ.ดร. พิชิต สุขเจริญพงษ์
  • รศ. รังสรรค์ เลิศในสัตย์
  • ดร. คงศักดิ์ สระศรีสม
อาจารย์ประจำหลักสูตร
  • ผศ.ดร. สุรสิทธิ์ อุดมธนวงศ์
  • ดร. เอิบ พงบุหงอ
  • ดร. รุ่งอรุณ กระแสร์สินธุ์
  • ดร. ดอน แก้วดก
  • ผศ. วิฐิณัฐ ภัคพรหมินทร์
  • ผศ.ดร. ปัณณทัต จอมจักร์
  • ดร. เพ็ญพิมล วิไลรัตน์
  • อาจารย์ วุฒิพงษ์ ปะวะสาร
รายชื่ออาจารย์พิเศษ
  • ดร. มนัสนันท์ ปัญญาสกุลวงศ์ : ผู้เชี่ยวชาญด้านการวินิจฉัยสถานประกอบการและวินิจฉัยด้านการตลาด
  • ดร. สุพัตรา บัวแสงจันทร์ : ผู้เชี่ยวชาญด้านการวินิจฉัยสถานประกอบการและวินิจฉัยด้านบัญชีและการเงิน
  • อาจารย์ ปริญญา เร่งพินิจ : ผู้เชี่ยวชาญด้านการวินิจฉัยสถานประกอบการ และที่ปรึกษาด้าน การจัดการด้านการผลิตและ Smart Monodzukuri
  • อาจารย์ พงษ์เดช เดชนที : ผู้เชี่ยวชาญด้านการวินิจฉัยสถานประกอบการ และที่ปรึกษาด้าน การจัดการด้านการผลิต
  • อาจารย์ ภิญโญ เอกอุรุชัยเทพ : ผู้เชี่ยวชาญด้านการวินิจฉัยสถานประกอบการ และที่ปรึกษาด้าน การจัดการด้านการผลิตและ Smart Monodzukuri
  • อาจารย์ พนิดา ละออสุวรรณ : ผู้เชี่ยวชาญด้านการวินิจฉัยสถานประกอบการ
  • อาจารย์ สริยา จันทร์เพ็ญ : ผู้เชี่ยวชาญด้านการวินิจฉัยสถานประกอบการ
  • อาจารย์ สุขสิรี นีลพัธน์ : ผู้เชี่ยวชาญด้านการวินิจฉัยสถานประกอบการ และ ที่ปรึกษาด้านการจัดการแผนธุรกิจ
  • อาจารย์ ณรงค์ศักดิ์ นันทกสิกร : ผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษาด้าน lean Manufacturing และ Smart Monodzukuri
  • อาจารย์ เกียรติศักดิ์ เกษเสถียร : ผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษาด้านการจัดการระบบการผลิตและเทคโนโลยี IoT [SIMTEC] และ Smart Monodzukuri
  • อาจารย์ สมชาย อยู่คุ้ม : ผู้เชี่ยวชาญระบบการผลิตแบบโตโยต้า
  • อาจารย์ อดิเรก ทิฆัมพรเพริศ : ผู้เชี่ยวชาญระบบโลจิสติกส์แบบโตโยต้า
  • อาจารย์ พรพรหม อธีตนันท์ : นักวิจัยและพัฒนา Digital Lean Learning Factory [NECTEC]
  • ดร. ธนกร ตันธนวัฒน์ : นักวิจัยและพัฒนา Digital Lean Learning Factory [NECTEC]
  • ดร. ธีรเชษฐ์ สูรพันธุ์ : นักวิจัยและพัฒนา IIoT Connectivity and Interoperability Testbed [NECTEC]
  • อาจารย์ เอกชาติ หัตถา : นักวิจัยและพัฒนา Digital Lean Learning Factory [NECTEC ]