ความเป็นมาของการจัดตั้งห้องวิจัยระบบอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
ด้วยมโนทัศน์ใหม่ของการออกแบบนวัตกรรมระบบและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในงานวิจัยและการประยุกต์ใช้สำหรับงานอุตสาหกรรมในปัจจุบัน
ได้เปลี่ยนผ่านจากมุมมองของระบบที่เป็นเชิงเส้นและตายตัว เข้าสู่ระบบพลวัตที่ไม่เป็นเชิงเส้น รวมทั้งเป็นระบบอัจฉริยะ สามารถเรียนรู้จดจำ
และสามารถปรับตัวเอง ซึ่งส่งผลให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานในรูปแบบของระบบสมองกลฝังตัว และเหมาะสมต่อการพัฒนาบนเทคโนโลยีทรานซิสเตอร์ขนาดเล็กได้เป็นอย่างดี
องค์ความรู้ประกอบการศึกษาและออกแบบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบอัจฉริยะดังกล่าว ประกอบด้วย ทฤษฏีความไม่เป็นเชิงเส้น ทฤษฎีความอลวน ทฤษฏีโครงข่ายประสาทเทียม
ทฤษฏีระบบควมคุม และองค์ความรู้ด้านการออกแบบระบบและวงจรอิเล็กทรอนิกส์ด้วยเทคโนโลยีซีมอส รวมทั้งการประยุกต์ใช้อุปกรณ์ไมโครคอนโทรลเลอร์และเอฟพีจีเอ
ตัวอย่างเบื้องต้นของการประยุกต์ใช้งานได้จริงแล้ว ได้แก่ ระบบควบคุมพลังงานในอาคารแบบฉลาด ระบบการสื่อสารความปลอดภัยสูง และระบบอิเล็กทรอนิกส์ทางการแพทย์อัจฉริยะ
ดังนั้นการออกแบบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบอัจฉริยะ จึงเป็นหัวข้อวิจัยที่กำลังเป็นที่สนใจอย่างแพร่หลาย โดยจะเห็นว่า สัดส่วนของผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในฐานข้อมูลมีจำนวนค่อนข้างมาก
เนื่องจากมีทิศทางในการพัฒนาหัวข้อวิจัยใหม่ๆ ซึ่งเป็นที่สนใจของบริษัทต่างๆในการพัฒนาเทคโนโลยีเกิดใหม่สำหรับโอกาสในธุรกิจในอนาคต การจัดตั้งห้องวิจัยระบบอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
จะเป็นศูนย์กลางในการบูรณาการการเรียนรู้เข้ากับงานวิจัย ซึ่งจะสามารถสนับสนุนการพัฒนาการวิจัยและการเรียนการสอนของสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ในสามด้านหลัก โดยประการแรก
คือ มีห้องวิจัยขั้นสูง ด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สำหรัหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณทิตสาขาเทคโนโลยีวิศวกรรม อันจะส่งผลให้มีการผลิตผลงานวิจัย
ในรูปแบบรายงานการวิจัยในวารสารทางวิชาการ และการจดสิทธิบัตรนวัตกรรมใหม่ในอนาคต ประการที่สองคือมีการบูรณาการองค์ความรู้ใหม่และทักษะทางปฏิบัตการเชิง
เทคโนโลยีในการเรียนการสอนด้วยปรัชญา “ โมโนซูคุริ ” ตามนโยบายของสถาบัน ประการสุดท้าย คือ สามารถให้บริการทางวิชาการสำหรับภาคอุตสาหกรรมและบริษัทต่างๆ
ในการให้คำปรึกษาหรือการออกแบบระบบ
Research Center of Advanced Energy Technology (RCAET) was officially established in 2011. RCAET is consisted of 3 research
laboratories; namely, Fuel Cell Research Laboratory, Advanced Material Labortory, Energy Conservation Management Laboratory.
Recently, main research are focused in 6 topics; Fuel Cell, Energy Policy, Carbon Technology, Energy conservation
and Building Management, Electric Vehicles, and Quality Inspection.
Field Research : Biocoke (Bio-solid Fuel), Porous Materials, Composite Materials, Wastewater Treatment
Field Research : Theoretical and Computational Analysis of Solids, Fluid, and Heat Transfer; Mathematical Modelling
Field Research : Applied Advanced Electromagnetism (Medical Engineering, Power Electronics and Electric Drives)
Field Research : Automation Manufacturing, Precision Measurement, Process Design by Simulation, TPM, TPS, TQM.
Advanced Industrial Engineering & Technology is a research laboratory of engineering faculty, Thai-Nichi Institute of Technology (TNI).
Our researches focus on Automation Manufacturing, Precision Measurement, Process Design by Simulation, Condition Monitoring, System
Integration, TPM, TPS, TQM, and Engineering Economics.
Field Research : Mechatronic system for Machine tools, Virtual Machining CAD CAM, CAE for Mold and Die Technology,Materials Engineering.
ห้องวิจัยวิศวกรรมคอมพิวเตอร์หุ่นยนต์และเทคโนโลยี