th
en
jp
หน้าหลัก
เกี่ยวกับคณะ
สาส์นจากคณบดี
วิสัยทัศน์ และ พันธกิจ
โครงสร้างการบริหารงาน
หลักสูตร
บุคลากร
คณาจารย์
ฝ่ายสนับสนุน
ห้องปฏิบัติการและห้องวิจัย
บริการของเรา
ติดต่อคณะ
th
en
jp
0-2763-2605
สมัครเรียน
th
en
jp
เกี่ยวกับคณะ
สาส์นจากคณบดี
ผู้บริหารและบุคลากร
คณาจารย์
สิ่งสนับสนุนการเรียน
หลักสูตร
main/navbar.text_department
ติดต่อคณะ
th
en
jp
0-2763-2605
สมัครเรียน
หน้าหลัก
หลักสูตร
ปริญญาตรี
วิศวกรรมยานยนต์ (AE)
วิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติแบบลีน (RE)
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ (CE)
วิศวกรรมอุตสาหการ (IE)
วิศวกรรมไฟฟ้า (EE)
วิศวกรรมการบูรณาการระบบดิจิทัล (SE)
ปริญญาโท
เทคโนโลยีวิศวกรรม (MET)
วิศวกรรมยานยนต์ (AE)
จุดเด่น
หลักสูตรวิศวกรรมยานยนต์ ปรับปรุงปี 2564 เพื่อสร้างบัณฑิตให้เป็น “ วิศวกรยานยนต์ TNI คนรุ่นใหม่ หัวใจโมโนซุคุริ (Monodzukuri) ” มีความรู้สมัยใหม่ ทันต่อการก้าวสู่ Industry 4.0 และนโยบาย Thailand 4.0 เพิ่มพูนความรู้ สร้างเสริมทักษะทางวิศวกรรมยานยนต์ การออกแบบและพัฒนาชิ้นส่วนยานยนต์ การผลิตและเทคโนโลยีวัสดุ การบริหารจัดการสายการผลิต ระบบควบคุมและระบบอัตโนมัติ และการซ่อมบำรุง เสริมด้วยทักษะภาษาอังกฤษ และภาษาญี่ปุ่น และมีความรู้คู่คุณธรรมจริยธรรม
อาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา
วิศวกรรมยานยนต์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์
วิศวกรด้านระบบควบคุมและระบบอัตโนมัติ
วิศวกรฝ่ายวิจัยและพัฒนา (R&D)
+ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
วิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติแบบลีน (RE)
จุดเด่น
1. วิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติแบบลีน (Robotics and Lean Automation Engineering: RE) เป็นหลักสูตรที่มีอัตราการมีงานทำสูงที่สุด ตรงกับความต้องการของสถานประกอบการญี่ปุ่นในประเทศไทย
2. โครงสร้างของหลักสูตรออกแบบรายวิชาภายใต้ความร่วมมือของคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรจากสถานประกอบการชั้นนำด้านการสร้างระบบเครื่องจักรอัตโนมัติเพื่อการผลิต วิศวกรที่จบจากหลักสูตร จึงมีความพร้อมในการปฏิบัติงานด้านการออกแบบระบบการผลิตอัตโนมัติในสถานประกอบการ
3. เป็นการบูรณาการระหว่างองค์ความรู้เกี่ยวกับหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ระบบควบคุมเครื่องจักรอัตโนมัติในการผลิตและเทคนิคการวิเคราะห์ของเสียในกระบวนการผลิตแบบลีน ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกที่มีการประยุกต์ศาสตร์ด้านการบริหารจัดการการผลิตคู่กับนวัตกรรมด้านวิศวกรรมการผลิตควบคู่กัน
4. โอกาสปฏิบัติงานในวิชาชีพวิศวกรรมที่แตกต่างจากทั่วไป เพราะเป็นวิศวกรที่มีทักษะครอบคลุมทั้งด้านการผลิต การออกแบบเครื่องจักรกล ระบบไฟฟ้าควบคุม การเขียนโปรแกรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ
5. หลักสูตร มีเนื้อหาสอดคล้องกับวิสัยทัศน์เชิงนโยบาย ที่เปลี่ยนเศรษฐกิจแบบเดิมไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยระบบการผลิตแบบอัตโนมัติ
อาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา
วิศวกรหุ่นยนต์
วิศวกรโปรแกรมควบคุมระบบอัตโนมัติสำหรับ พีแอลซี หุ่นยนต์อุตสาหกรรม และเครื่องจักรกลอัตโนมัติ
วิศวกรวางแผน ปรับปรุง และเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต
+ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ (CE)
จุดเด่น
มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความชำนาญทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และศึกษาเรียนรู้การออกแบบ ติดตั้ง และการบำรุงรักษาระบบฮาร์ดแวร์ และ ซอฟต์แวร์ของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ มีความสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ และสามารถนำความรู้ไป ประยุกต์ กับงานในอุตสาหกรรมได้ มีทักษะภาษาอังกฤษ และภาษาญี่ปุ่นเพื่อการสื่อสารเป็นอย่างดี
อาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา
วิศวกรนักพัฒนาระบบ (System Engineer)
วิศวกรซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์
ประกอบธุรกิจส่วนตัว
+ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
วิศวกรรมอุตสาหการ (IE)
จุดเด่น
มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ด้านวิศวกรรมอุตสาหการในด้านต่างๆ อาทิ การออกแบบพัฒนาด้านกระบวนการผลิต การบริหารจัดการสายการผลิต การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการประยุกต์ความรู้ด้านวิศวกรรมอุตสาหการ มีความสามารถในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และแก้ปัญหาระบบการผลิตในอุตสาหกรรม มีความสามารถรับความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ และสามารถนำความรู้เหล่านั้นไปประยุกต์ใช้กับงานจริงได้ มี ทักษะภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาญี่ปุ่นเพื่อการสื่อสารเป็นอย่างดี เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม
อาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา
วิศวกรพัฒนาและควบคุมระบบการผลิต
วิศวกรจัดการทรัพยากรโรงงาน
วิศวกรในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์
+ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
วิศวกรรมไฟฟ้า (EE)
จุดเด่น
มุ่งผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้มีความรู้ทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อให้เป็นวิศวกรที่มีความสามารถในการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ สามารถออกแบบ สร้างสรรค์ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และแก้ปัญหาในเชิงวิศวกรรมไฟฟ้า เป็นผู้มีทักษะภาษาอังกฤษ และภาษาญี่ปุ่นเพื่อการสื่อสารได้เป็น อย่างดี รวมทั้งเป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม
อาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา
วิศวกรไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม
วิศกรออกแบบผลิตภัณฑ์
นักวิจัยระบบอัจฉริยะ
+ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
วิศวกรรมการบูรณาการระบบดิจิทัล (SE)
จุดเด่น
มุ่งเน้นการสร้างและพัฒนาบัณฑิตที่มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และการจัดการ รวมถึงการผสานรวมศาสตร์เหล่านี้เข้ากับเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสร้างนวัตกรรมและประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนในโลกจริง ตามแนวคิดและวัฒนธรรมการทางานของญี่ปุ่น
อาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา
วิศวกรผู้บูรณาการระบบ (System Integration Engineer: SI)
วิศวกรระบบ (Systems Engineer)
นักพัฒนาเทคโนโลยีอัจฉริยะ (Intelligent Tecnology Developer)
+ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เทคโนโลยีวิศวกรรม (MET)
จุดเด่น
มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ทักษะ และความชำนาญ ในการประยุกต์ใช้พัฒนาเทคโนโลยี และงานวิจัยทางด้านวิศวกรรม อาทิ การออกแบบขั้นสูงและเทคโนโลยีการผลิต ระบบพลังงานและสิ่งแวดล้อม นวัตกรรมและการจัดการทางวิศวกรรม และระบบวิศวกรรมไฟฟ้าอัจฉริยะเพื่อให้บัณฑิตมีความสามารถในการออกแบบพัฒนาคิดวิเคราะห์แก้ไขปัญหาและบริหารจัดการ ให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว อย่างมีคุณธรรมจริยธรรม
อาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา
วิศวกรอาวุโส ผู้จัดการ นักพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเทคโนโลยี นักวิจัย และนักวิชาการ ซึ่งผู้เรียนจะได้รับความรู้และเพิ่มพูนทักษะความชำนาญด้านเทคโนโลยีวิศวกรรม และเรียนรู้ด้านการบริหารจัดการองค์กรแบบญี่ปุ่น เพื่อให้มหาบัณฑิตมีความพร้อมต่อการแข่งขันในภาคธุรกิจและภาครัฐ
ผู้ประกอบการ เจ้าของกิจการ และผู้บริหาร ซึ่งผู้เรียนจะได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะพัฒนาสร้างสรรค์เทคโนโลยีด้านวิศวกรรม รวมถึงด้านการบริหารจัดการองค์กรและการแก้ปัญหาแบบญี่ปุ่น
ผู้ต้องการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผู้เรียนจะได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยและพัฒนาสร้างสรรค์เทคโนโลยีด้านวิศวกรรม ซึ่งเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
+ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เราใช้คุกกี้ในการให้บริการและปรับปรุงบริการของเรา ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ประสบการณ์การเรียกดูข้อมูลของคุณ หากคุณใช้งานเว็ปไซต์ของเราต่อ ถือว่าคุณยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ