เทคโนโลยีวิศวกรรม

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีวิศวกรรม (MET) มีปรัชญาเพื่อมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ทักษะและความชำนาญ ในด้านการวิจัยและพัฒนา การประยุกต์ใช้และพัฒนาเทคโนโลยีด้านวิศวกรรม มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้จักการคิดวิเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหาและการบริหารจัดการให้งานบรรลุเป้าหมายองค์กรทั้งในระยะสั้นและระยะยาวตามแนวทางแบบญี่ปุ่น เป็นนักปฏิบัติที่ซื่อสัตย์ในจรรยาบรรณและมีจิตสำนึกสาธารณะต่อสังคม สามารถพัฒนาศักยภาพตนเองให้สูงขึ้นโดยตลอดและสามารถปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี หลักสูตรประกอบด้วย 2 กลุ่มวิชา ที่ตอบสนองต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและการผลิตภาคเศรษฐกิจและสังคม ภาคพลังงานและสิ่งแวดล้อม ได้แก่
(1) วิศวกรรมนวัตกรรมและการผลิตขั้นสูง (AIM: Advanced Innovation and Manufacturing Engineering)
(2) วิศวกรรมเพื่อการพัฒนาพลังงานอย่างยั่งยืน (ESD: Engineering for Sustainable Energy Development)

อาจารย์ผู้รับผิดชอบและประจำหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต : สาขาเทคโนโลยีวิศวกรรม

...
ผศ.ดร.นพดล ศรีพุทธา
...
รศ.ดร.จินตวัฒน์ ไชยชนะวงศ์
...
ดร.อัดนา เซนโต๊ะ

อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต : สาขาเทคโนโลยีวิศวกรรม

...
ดร.วัชรินทร์ หนูทอง
...
รศ.ดร.วรากร ศรีเชวงทรัพย์
...
รศ.ดร.พิศุทธิ์ พงศ์ชัยฤกษ์
...
ดร.มหรรณพ ฟักขาว
...
ผศ.ดร. วิภาวดี วงษ์สุวรรณ์
...
ผศ.ดร.พรชัย นิเวศน์รังสรรค์
...
ดร.ดอน แก้วดก
...
ดร.เอกอุ ธรรมกรบัญญัติ
...
ดร.ไพศาล สุดวิลัย
...
ผศ.ดร.กันติชา กิตติพีรชล
...
ดร.ชัชไชย วรรณบูรณ์
...
ผศ.ดร.พิมพ์เพชร สระทองอุ่น

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย)

  • วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีวิศวกรรม)

ชื่อย่อ (ภาษาไทย)

  • วศ.ม. (เทคโนโลยีวิศวกรรม)

ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ)

  • Master of Engineering (Engineering Technology)

ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ)

  • M.Eng. (Engineering Technology)

จุดเด่นของหลักสูตร

  1. ผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ ทักษะและความชำนาญ รู้จักประยุกต์ใช้และพัฒนาเทคโนโลยีด้านวิศวกรรม
  2. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนา การคิดวิเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหาในงานวิศวกรรม จากโจทย์วิจัยในที่ทำงานตนเอง
  3. พัฒนาศักยภาพนักศึกษาให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสามารถปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี
  4. ฝึกการบริหารจัดการเพื่อให้งานบรรลุเป้าหมายองค์กร ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ตามแนวทางแบบญี่ปุ่น
  5. ส่งเสริมให้เป็นวิศวกรนักปฏิบัติที่ซื่อสัตย์ในจรรยาบรรณ และมีจิตสำนึกสาธารณะต่อสังคม

คุณสมบัติผู้สมัคร

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีอุตสาหกรรม ครุศาสตรอุตสาหกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร (ไม่น้อยกว่า) 36 หน่วยกิต

(1) หมวดวิชาบังคับ
15 หน่วยกิต
(2) หมวดวิชาเฉพาะ 9 หน่วยกิต
(3) วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต

แผนการศึกษา