โครงการจัดการความรู้ ‘สอนเด็ก Generation Z สู่ศตวรรษที่ 21 อย่างไร’

 

 

โครงการจัดการความรู้

เรื่อง “สอนเด็กGeneration Zสู่ศตวรรษที่ 21 อย่างไร


เมื่อวันจันทร์ที่ 13ตุลาคม 2557เวลา 09:00-11:00น. ณ ห้อง A 415อาคาร A ชั้น 4สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่นคณะกรรมการการจัดการความรู้สำนักวิชาพื้นฐานและภาษา จัดโครงการแลกเปลี่ยนความรู้ เรื่อง “สอนเด็ก Generation Zสู่ศตวรรษที่ 21 อย่างไร” บรรยายโดย อาจารย์เพชรศรี  ลิมปิบันเทิง ซึ่งโครงการดังกล่าวได้รับความสนใจจากคณาจารย์ของสำนักวิชาพื้นฐานและภาษา เข้าร่วมฟังบรรยายและแลกเปลี่ยนความรู้

 

 

จากการจัดโครงการดังกล่าวได้มีการสรุปผลความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการดังต่อไปนี้

 

สรุปความพึงพอใจการเข้าร่วมโครงการจัดการความรู้                                                                         

เรื่อง“สอนเด็กGeneration Zสู่ศตวรรษที่ 21 อย่างไร”

**************************************

ตามที่สำนักวิชาพื้นฐานและภาษา สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่นได้จัดโครงการ การจัดการความรู้   เรื่อง สอนเด็กGeneration Zสู่ศตวรรษที่ 21 อย่างไร”ขึ้นในวันที่ 13ตุลาคม 2557 แล้วนั้น สำนักฯ  ได้จัดทำแบบสอบถามเพื่อสำรวจความคิดเห็นของอาจารย์ที่เข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับความพึงพอใจในการจัดโครงการดังกล่าว ทั้งนี้มีอาจารย์ให้ความคิดเห็นจำนวน 25คน จากผู้เข้าร่วมโครงการจำนวนทั้งสิ้น 25คน คิดเป็นร้อยละ 100.00

แบบสอบถามมีการคิดค่าคะแนนดังต่อไปนี้

คะแนนระดับความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 4 ระดับ โดยมีการใช้มาตราวัดแบบ Rating Scale ดังต่อไปนี้

ระดับที่มีความพึงพอใจมากที่สุด            คะแนนที่ให้      4 คะแนน

ระดับที่มีความพึงพอใจมาก                   คะแนนที่ให้      3 คะแนน

ระดับที่มีความพึงพอใจน้อย                   คะแนนที่ให้      2 คะแนน

ระดับที่มีความพึงพอใจน้อยที่สุด           คะแนนที่ให้      1 คะแนน

 

การคิดค่าคะแนนแต่ละช่วงชั้นของ Rating Scale ด้วยสูตรดังนี้

 

สูตร                        =        ค่าสูงสุด – ค่าต่ำสุด

อัตรภาคชั้น

=        4-1

4

=        0.75

 

ดังนั้นการคิดค่าคะแนนจะเป็นดังนี้

 

3.26-4.00       หมายถึง          ระดับที่มีความพึงพอใจมากที่สุด

2.51-3.25       หมายถึง          ระดับที่มีความพึงพอใจมาก

1.76-2.50       หมายถึง          ระดับที่มีความพึงพอใจน้อย

1.00-1.75       หมายถึง          ระดับที่มีความพึงพอใจน้อยที่สุด

 

ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม

ตารางที่ 1 จำนวนและร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามจำแนกตามเพศ สถานภาพ และสังกัด

รายการ

จำนวน (คน)

ร้อยละ

เพศ

ชาย

หญิง

6

19

24.0

76.0

รวม

25

100

สถานภาพ

ครู อาจารย์

นักเรียน

25

0

100.0

    0.0

รวม

25

100

สังกัด

สำนักวิชาพื้นฐานและภาษา

25

100

รวม

25

100

 

จากตารางที่ 1 มีอาจารย์ของสำนักวิชาพื้นฐานและภาษา ตอบแบบสอบถามโครงการจัดการความรู้   เรื่อง สอนเด็กGeneration Zสู่ศตวรรษที่ 21 อย่างไร”นี้ ทั้งสิ้น 25 คน แบ่งเป็นเพศชาย 6คน คิดเป็นร้อยละ 24.0และเพศหญิง 37 คน คิดเป็นร้อยละ 63.8 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด

 

ตอนที่ 2 ความพึงพอใจเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ

ตารางที่ 2 ระดับการประเมินผลการดำเนินโครงการ

รายการ

ค่าเฉลี่ย

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(SD)

ระดับ

ความพึงพอใจ

1.    ด้านรูปแบบกิจกรรม
1.1 รูปแบบการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสม

3.48

0.510

มากที่สุด

1.2เนื้อหากิจกรรมมีความเหมาะสม

3.44

0.507

มากที่สุด

1.3อุปกรณ์ และสื่อที่ใช้มีความเหมาะสม

3.36

0.569

มากที่สุด

1.4เวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสม

3.48

0.586

มากที่สุด

1.5สถานที่จัดกิจกรรมมีความเหมาะสม

3.40

0.500

มากที่สุด

2.    ด้านวิทยากร
2.1มีการเตรียมตัวและมีความพร้อม

3.68

0.476

มากที่สุด

2.2 มีเทคนิคในการบรรยาย สื่อสาร และสามารถอธิบายเนื้อหาได้ชัดเจนตรงประเด็น

3.60

0.500

มากที่สุด

2.3 ใช้ภาษาที่เหมาะสมและเข้าใจง่าย

3.52

0.510

มากที่สุด

2.4 เปิดโอกาสให้ซักถามและแสดงความคิดเห็น

3.72

0.458

มากที่สุด

3.    ผลที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรม
3.1 ได้รับความรู้ แนวคิด ทักษะและประสบการณ์ใหม่ ๆ จากกิจกรรม

3.68

0.476

มากที่สุด

3.2 สามารถนำสิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมนี้ไปใช้ในการเรียน/การปฏิบัติงาน

3.60

0.500

มากที่สุด

3.3 สิ่งที่ได้รับจาก กิจกรรมครั้งนี้ตรงตามความคาดหวัง

3.36

0.490

มากที่สุด

3.4 ได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน

3.48

0.510

มากที่สุด

ความพึงพอใจในภาพรวม

3.88

0.378

มากที่สุด

 

จากตารางที่ 2 สามารถอธิบายผลการดำเนินโครงการได้ดังนี้

ด้านรูปแบบกิจกรรม

รูปแบบการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสม,เวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสม มีความพึงพอใจมากที่สุดที่ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน 3.48ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.510และ0.586 ตามลำดับ รองลงมาคือ เนื้อหากิจกรรมมีความเหมาะสมมีความพึงพอใจที่ค่าเฉลี่ย 3.44ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.507ลำดับถัดมาคือ สถานที่จัดกิจกรรมมีความเหมาะสม มีความพึงพอใจที่ค่าเฉลี่ย 3.40 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.500และ อุปกรณ์ และสื่อที่ใช้มีความเหมาะสม มีความพึงพอใจที่ค่าเฉลี่ย 3.36ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.569

ด้านวิทยากร

วิทยากรเปิดโอกาสให้ซักถามและแสดงความคิดเห็นมีความพึงพอใจมากที่สุดที่ค่าเฉลี่ย 3.72ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.458รองลงมาคือ วิทยากรมีการเตรียมตัวและมีความพร้อม มีความพึงพอใจที่ค่าเฉลี่ย 3.68ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.476ลำดับถัดมาคือ วิทยากรมีเทคนิคในการบรรยาย สื่อสาร และสามารถอธิบายเนื้อหาได้ชัดเจนตรงประเด็น มีความพึงพอใจที่ค่าเฉลี่ย 3.60ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.500และวิทยากรใช้ภาษาที่เหมาะสมและเข้าใจง่ายมีความพึงพอใจที่ค่าเฉลี่ย 3.52ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.510

ผลที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรม

ได้รับความรู้ แนวคิด ทักษะและประสบการณ์ใหม่ ๆ จากกิจกรรม มีความพึงพอใจมากที่สุดที่ค่าเฉลี่ย 3.68ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.476รองลงมาคือ สามารถนำสิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมนี้ไปใช้ในการเรียน มีความพึงพอใจที่ค่าเฉลี่ย 3.60ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.500ลำดับถัดมาคือ ได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน มีความพึงพอใจที่ค่าเฉลี่ย 3.48 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.510และสิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมครั้งนี้ตรงตามความคาดหวังมีความพึงพอใจที่ค่าเฉลี่ย 3.36ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.490

ทั้งนี้เมื่อดูจากภาพรวมระดับความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการครั้งนี้พบว่า มีระดับความพึงพอใจมากที่สุดที่ค่าเฉลี่ย 3.76ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.436

 

ตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะมีดังนี้

–       อยากให้มีตัวอย่างกิจกรรมในการสอนแบบ Active Learningมากกว่านี้

–       เวลาน้อยไปสำหรับการบรรยาย ในหัวข้อนี้

/2015/upload/files/KM_Petchsri(1).pdf

Post Author: admin

Leave a Reply