ภาพบรรยากาศการจัดโครงการแลกเปลี่ยนความรู้
“แนวทางและรูปแบบการสอนภาษาญี่ปุ่นสืบเนื่องจากการอบรม JAPAN FOUNDATION”
สรุปความพึงพอใจการเข้าร่วมการเข้าร่วมโครงการ
แนวทางและรูปแบบการสอนภาษาญี่ปุ่นสืบเนื่องจากการอบรม Japan Foundation
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตารางที่ 1 จำนวนและร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามแบ่งตามเพศและฝ่ายงาน
รายการ |
จำนวน (คน) |
ร้อยละ |
เพศ
ชาย หญิง |
4 9 |
30.77 69.23 |
รวม |
13 | 100 |
ฝ่ายงาน
อาจารย์ภาษาญี่ปุ่น JPN อาจารย์ภาษาญี่ปุ่น BJ |
8 5 |
61.54 28.46 |
รวม |
13 | 100 |
จากตารางที่ 1 มีผู้เข้าร่วมโครงการจัดการความรู้และแลกเปลี่ยนรู้ “แนวทางและรูปแบบการสอนภาษาญี่ปุ่นสืบเนื่องจากการอบรม JAPAN FOUNDATION” เป็นเพศชาย 4 คน คิดเป็นร้อย 30.77 เพศหญิง 9 คน คิดเป็นร้อยละ 69.23 โดยแบ่งเป็นอาจารย์ภาษาญี่ปุ่น JPN8 คน คิดเป็นร้อยละ 61.54 และเป็นอาจารย์ภาษาญี่ปุ่น BJ5 คน คิดเป็นร้อยละ 28.46
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการครั้งนี้รวมทั้งสิ้น 13 คน ซึ่งบรรลุเป้าหมายตามตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการที่กำหนดไว้ คือการมีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 10 คนขึ้นไป
ตอนที่ 2 ความคิดเห็นเกี่ยวการดำเนินโครงการ
ตารางที่ 2 ระดับการประเมินผลการดำเนินโครงการ
ประเด็นการประเมิน |
ค่าเฉลี่ย ( ) |
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) |
ความหมาย |
1. ด้านความรู้ ความเข้าใจ | |||
1.1 ความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับตรงกับความต้องการ |
4.62 |
0.51 |
ดีมาก |
1.2 ความรู้ ความเข้าใจตรงตามจุดประสงค์ของโครงการ |
4.54 |
0.52 |
ดีมาก |
1.3 ความรู้ ความเข้าใจหลังเข้าร่วมโครงการมีมากกว่าก่อน
เข้าร่วมโครงการ |
4.85 |
0.38 |
ดีมาก |
2. ด้านความพึงพอใจ | |||
2.1 ความเหมาะสมของสถานที่ |
4.31 |
0.75 |
ดี |
2.2 ความสะอาดเรียบร้อยของสถานที่ |
4.38 |
0.65 |
ดี |
2.3 ความเหมาะสมของสื่อและอุปกรณ์ |
4.46 |
0.66 |
ดี |
2.4 รูปแบบของการจัดโครงการมีความเหมาะสม |
4.38 |
0.65 |
ดี |
2.5 ความเหมาะสมของวันและระยะเวลาในการจัดโครงการ |
4.54 |
0.52 |
ดีมาก |
2.6 ความเหมาะสมของเอกสารประกอบการอบรม |
4.54 |
0.52 |
ดีมาก |
3. ด้านการนำความรู้ไปใช้ | |||
3.1 สามารถนำความรู้ไปใช้ในพัฒนาตนเอง/หรือปฏิบัติงาน |
4.77 |
0.44 |
ดีมาก |
3.2 สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดให้ผู้อื่น |
4.31 |
0.48 |
ดี |
3.3 สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ได้ |
4.69 |
0.48 |
ดีมาก |
4. ด้านวิทยากร | |||
4.1 ความรู้ ความชำนาญและประสบการณ์ |
4.62 |
0.51 |
ดีมาก |
4.2 การถ่ายทอดความรู้ เข้าใจได้ง่าย |
4.77 |
0.44 |
ดีมาก |
4.3 ความสามารถในการตอบคำถามได้ชัดเจน ตรงประเด็น |
4.77 |
0.44 |
ดีมาก |
ความพึงพอใจในภาพรวม |
4.69 |
0.48 |
ดีมาก |
จากตารางที่ 2 สามารถอธิบายผลการประเมินเกี่ยวกับความคิดเห็นการดำเนินโครงการได้ ดังนี้
ด้านความรู้ ความเข้าใจ
ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจหลังเข้าร่วมโครงการมากกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับ ดีมาก มีค่าเฉลี่ย 4.85 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.38 ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยที่สูงที่สุดในด้านความรู้ ความเข้าใจ และในการประเมินผลโครงการโดยรวมทั้งหมด ความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับตรงกับความต้องการอยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ย 4.62 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.38 ความรู้ ความเข้าใจตรงตามจุดประสงค์ของโครงการอยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ย4.54 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.52 ดังนั้นเมื่อคิดค่าเฉลี่ยความคิดเห็นเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจทั้งหมดจึงอยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ย 4.67 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.47
ด้านความพึงพอใจ
ความเหมาะสมของสถานที่ ความสะอาดเรียบร้อยของสถานที่ ความเหมาะสมของสื่อและอุปกรณ์ และความเหมาะสมของรูปแบบการจัดโครงการอยู่ในระดับดี โดยความเหมาะสมของสถานที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดในด้านความพึงพอใจและในการประเมินโครงการโดยรวม คือค่าเฉลี่ย4.31 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.75 ความสะอาดเรียบร้อยของสถานที่และความเหมาะสมของรูปแบบการจัดโครงการมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน คือ 4.38 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.65 ความเหมาะสมของสื่ออุปกรณ์มีค่าเฉลี่ย 4.46 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.66
ความเหมาะสมของวันและระยะเวลาในการจัดโครงการและความเหมาะของเอกสารประกอบการอบรมอยู่ในระดับดีมาก โดยทั้งสองประเด็นการประเมินนี้มีค่าเฉลี่ยเท่ากันคือ 4.54 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.52 เนื่องจากในด้านความพึงพอใจค่าเฉลี่ยส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี เมื่อคิดค่าเฉลี่ยความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจทั้งหมดแล้วจึงอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ย 4.44 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.62
ด้านการนำความรู้ไปใช้
ด้านการนำความรู้ไปใช้นั้น ค่าเฉลี่ยการนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาตนเองหรือในการปฏิบัติงานสูงเป็นอันดับหนึ่ง โดยมีค่าเฉลี่ย 4.77 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.44 อยู่ในระดับดีมาก อันดับสองคือการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ มีค่าเฉลี่ย 4.69 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.48 อยูในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดในด้านการนำความรู้ไปใช้และในการประเมินโครงการโดยรวมคือ การนำความรู้ไปถ่ายทอดให้ผู้อื่น โดยมีค่าเฉลี่ย 4.31 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.48 เนื่องจากค่าเฉลี่ยส่วนใหญ่ในด้านการนำความรู้ไปใช้อยู่ในระดับดีมาก เมื่อคิดค่าเฉลี่ยความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำความรู้ไปใช้ทั้งหมดแล้วจึงอยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ย 4.59 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.47
ด้านวิทยากร
ด้านวิทยากรนั้น การถ่ายทอดความรู้เข้าใจง่ายและความสามารถในการตอบคำถามได้ชัดเจน ตรงประเด็นได้ค่าเฉลี่ยสูงที่สุดและได้ค่าเฉลี่ยเท่ากันคือ 4.77 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.44 อยู่ในระดับดีมาก ส่วนความรู้ ความชำนาญและประสบการณ์ มีค่าเฉลี่ย 4.62 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน0.51 อยู่ในระดับดีมากเช่นกัน เมื่อคิดค่าเฉลี่ยความคิดเห็นเกี่ยววิทยากรทั้งหมดแล้วอยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ย 4.72 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.46
ความพึงพอใจในภาพรวม
ความพึงพอใจในภาพรวมนั้นอยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ย 4.69 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.48 ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการที่กำหนดไว้คือ ความพึงพอใจในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยคะแนน 3.50 ขึ้นไป
สรุปผลการประเมินโครงการ
ผลการประเมินการจัดโครงการครั้งนี้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ความเข้าใจในระดับดีมาก ได้รับความรู้มากกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการ และได้ความรู้ความเข้าใจตรงตามความต้องการ เอกสารในการใช้ประกอบการอบรมมีความเหมาะสมดีมาก ความรู้จากการเข้าร่วมโครงการนี้สามารถนำไปในใช้ในการพัฒนาตนเองหรือการประยุกต์ใช้ได้ดีมาก วิทยากรมีความรู้ ความชำนาญและประสบการณ์ดีมาก สามารถถ่ายทอดความรู้ เข้าใจง่าย และตอบคำถามได้ชัดเจนตรงประเด็น สถานที่ สื่อ และอุปกรณ์ต่างๆในการจัดงานมีความเหมาะสมดี วันและระยะเวลาในการจัดโครงการมีความเหมาะสมดีมาก ในภาพรวมแล้วผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในระดับดีมาก
ตอนที่ 3 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
จากแบบสอบถามที่รวบรวมมาผู้เข้าร่วมโครงการมีความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการจัดโครงการที่หลากหลาย สามารถสรุปได้ดังนี้ ผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าได้รับประโยชน์จากการอบรมนี้เป็นอย่างมาก สามารถตอบสนอเรื่องที่สนใจได้ ทำให้เข้าใจแนวทางการสอนภาษาญี่ปุ่นมากขึ้นและได้เรียนรู้แนวการสอนหลายๆรูปแบบ นอกจากนี้การทำแบบสอบถามซึ่งเป็นกิจจกรมหนึ่งในโครงการยังช่วยทำให้เข้าใจตัวเองมากขึ้นว่าเป็นอาจารย์ที่สอนโดยใช้แนวทางไหนอยู่ ส่วนข้อเสนอแนะนั้นเป็นการเสนอให้จัดโครงการจัดการความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อการสอนต่างๆที่เฉพาะด้านมากขึ้น เช่น การสอนคันจิ หรือมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับปัญหาในการสอนภาษาญี่ปุ่น เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอแนะให้จัดโครงการจัดการความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้นอกสถานที่ และจัดโครงการให้บ่อยขึ้น