เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)

จุดเด่น

นักศึกษาที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT เป็นที่ต้องการของธุรกิจสาขาต่างๆ และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมในทุกรูปแบบ เนื่องจากทุกสถานประกอบการจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีด้านสารสนเทศในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยการเรียนในสาขานี้เน้นให้ผู้เรียนสามารถทำงานด้าน IT ทั้งในบทบาทของผู้พัฒนา และผู้ใช้งานระบบ ผ่านการเรียนที่เน้นการปฏิบัติจริง และมีการส่งนักศึกษาให้เข้าไปทำงานในสถานประกอบการจริง

อาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา

  1. นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน
  2. นักพัฒนาโปรแกรมทางธุรกิจ
  3. นักเทคโนโลยีและเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กร
  4. ผู้จัดการเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กร
  5. บริษัทที่ปรึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศ
  6. นักวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศ
  7. ทํางานในสถานประกอบการภาคธุรกิจอุตสาหกรรม
+ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

เทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจดิจิทัล (BI)

จุดเด่น

เป็นสาขาที่มุ่งพัฒนาบัณฑิตให้เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และมีความเข้าใจกระบวนการทางธุรกิจ ทำให้บัณฑิตสามารถพัฒนาโปรแกรมและประยุกต์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านต่างๆ ให้กับองค์กรธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในหลักสูตรมีการเรียนรู้การใช้ซอฟต์แวร์ชั้นนำ ที่ได้รับความนิยมในระดับสากล เช่น SAP Oracle และ Google Apps ซึ่งผลสำรวจจากภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม พบว่าปัจจุบันความต้องการบุคลากรที่จบการศึกษาในสาขานี้ ยังเป็นที่ต้องการสูงมาก

อาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา

  1. นักวิเคราะห์ระบบด้านธุรกิจ
  2. นักพัฒนาซอฟต์แวร์ด้านธุรกิจ
  3. นักจัดการระบบสารสนเทศ
  4. ที่ปรึกษาระบบสารสนเทศ
  5. ผู้ประเมินระบบสารสนเทศ
  6. นักจัดการการตลาดออนไลน์
  7. ผู้จัดการโครงการ
+ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

เทคโนโลยีมัลติมิเดีย (MT)

จุดเด่น

เน้นการเรียนรู้ทฤษฎีควบคู่ปฏิบัติจริง และสร้างสรรค์ผลงานคุณภาพด้วยเทคโนโลยีทันสมัยมาตรฐานสากล ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการออกแบบ ผลิต และวิเคราะห์งานด้านมัลติมีเดีย มีศักยภาพในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง สามารถปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในปัจจุบัน มีความคิดสร้างสรรค์มีคุณธรรม และจริยธรรม ผลงานนักศึกษาได้รับการยอมรับจากหน่วยงานภายนอกเป็นจำนวนมาก

อาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา

  1. ทำงานในสถานประกอบการภาคธุรกิจ โดยมีความชำนาญในการออกแบบระบบมัลติมีเดีย การใช้เครื่องมือช่วยในการพัฒนาและออกแบบ
  2. ประกอบธุรกิจส่วนตัวทางด้านเทคโนโลยีมัลติมีเดีย เช่น เป็นผู้วางระบบมัลติมีเดีย เป็นที่ปรึกษาทางด้านเทคโนโลยีมัลติมีเดีย
  3. ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ
+ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

เทคโนโลยีดิจิทัลทางสื่อสารมวลชน (DC)

จุดเด่น

สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลทางสื่อสารมวลชน มีการเรียนการสอนที่บูรณาการศาสตร์ทางด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีดิจิทัล เปิดสอนรายวิชาที่มีเนื้อหาวิชาทันสมัยสอดคล้องกับแผนขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ “Thailand 4.0” เน้นการเรียนการสอนทั้งบรรยายและการปฏิบัติจริงตามหลัก MONOZUKURI ที่ทำให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ผลิต และประเมินผลชิ้นงานได้จริง ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญในสถานประกอบการ โดยเฉพาะจากประเทศญี่ปุ่น เนื่องด้วยประเทศญี่ปุ่นถือเป็นต้นแบบทางด้านอุตสาหกรรมสื่อสารมวลชนที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล นอกจากนั้นผู้เรียนสามารถฝึกใช้เครื่องมือที่มีมาตรฐานเดียวกันกับอุตสาหกรรมสื่อสารมวลชนที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

อาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา

  1. นักสื่อสารองค์กร
  2. นักจัดและผลิตรายการโทรทัศน์ดิจิทัล
  3. นักจัดและผลิตรายการวิทยุออนไลน์
  4. ผู้สร้างสรรค์งานสื่อ
  5. นักวิจัยและวิเคราะห์การตลาดดิจิทัล
  6. นักออกแบบงานกราฟิก
  7. ผู้ดูแลงานอีเว้นท์
+ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

วิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล (DS)

จุดเด่น

- นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจด้านวิทยาการข้อมูล สามารถเก็บรวบรวมข้อมูล เรียกใช้ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และนำผลลัพธ์จากการวิเคราะห์ข้อมูล นำเสนอแนวทางแก้ไขให้ธุรกิจ รวมถึงมีความชำนาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล สามารถเลือกใช้เครื่องมือที่ในงาน DS ได้อย่างเหมาะสม กับแต่ละสายงาน เป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์ (Developer) ด้าน Data Science ที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นที่ต้องการในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม
- โดยศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในการจัดการข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้คือ วิทยาการข้อมูล (Data Science) และการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) ซึ่งอาศัยศาสตร์หลัก 3 อย่างหลัก ๆ คือ สถิติศาสตร์, คอมพิวเตอร์ และความรู้จำเพาะสำหรับธุรกิจ ทั้งนี้เพื่อเป็นการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้สู่ตลาดแรงงาน ที่จำเป็นต้องใช้บุคลากรที่มีทักษะใหม่นี้ ในการจัดการกับข้อมูลด้านนี้มากขึ้นในอนาคต ทางคณะเทคโนโลยีสารสนเทศจึงได้ พัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลขึ้นมา

อาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา

  1. นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist)
  2. นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst)
  3. วิศวกรข้อมูล (Data Engineer)
  4. ผู้เชี่ยวชาญฐานข้อมูล (Database Specialist)
  5. นักพัฒนาด้านอัจฉริยะทางธุรกิจ (BI Developer)
  6. ผู้ให้คำปรึกษาด้านการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics Consultant)
  7. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)
  8. นักวิจัย (Researcher)
+ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

เทคโนโลยีสารสนเทศ (MIT)

จุดเด่น

หลักสูตรถูกออกแบบมาโดยการบูรณาการหลักการของ Monozukuri และ Hitozukuri ที่เน้นการสร้างของและสร้างคนในรูปแบบของญี่ปุ่น โดยรวมทั้ง 3 สาขาด้วยกัน เพื่อความสมบูรณ์ขององค์ความรู้ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ คือ ด้านสารสนเทศทางธุรกิจและการวิเคราะห์ข้อมูล (Business Information Systems and Data Analytics) การทำเหมืองข้อมูล (Data Mining and Big Data), ด้านเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Multimedia Technology), ด้านเทคโนโลยีระบบ เครือข่าย (Network Technology) , Internet of Things (IoT) และ Artificial Intelligence (AI) นอกจากนี้ยังเป็นการผสมผสานการเรียน แบบ Practical and Research

อาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา

  1. ผู้บริหารโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ / โครงการซอฟต์แวร์
  2. ผู้บริหารศูนย์คอมพิวเตอร์ / ศูนย์บริการสารสนเทศ
  3. ผู้บริหารฐานข้อมูล
  4. นักพัฒนาระบบสารสนเทศ / นักพัฒนาซอฟต์แวร์
  5. นักออกแบบระบบเทคโนโลยีสารสนเทศองค์กร
  6. นักวิเคราะห์ระบบสารสนเทศ
  7. นักวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบสารสนเทศ
+ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม