สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น (TNI) สถาบันอุดมศึกษาสไตล์ญี่ปุ่น ด้วยแนวทางการเรียนการสอนแบบ Monodzukuri มุ่งหวังสร้างนักศึกษาที่คิดเป็น ทำเป็น คิดจริงทำจริง มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
ตลอดระยะเวลากว่า 16 ปี นอกเหนือจากสร้างบุคลากรรุ่นใหม่ให้มีความรู้ความสามารถตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน เป็นที่ยอมรับในภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ ทั้งในไทยและในประเทศญี่ปุ่น สถาบันยังมุ่งหวังพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อเผยแพร่วิทยาการและองค์ความรู้ออกสู่สังคมผ่านผลงานวิจัยต่างๆ
คณะบริหารธุรกิจ เป็นหนึ่งหน่วยงานที่มุ่งมั่นเป็นศูนย์กลางทางวิชาการทางด้านการบริหาร การจัดการ เพื่อประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมและสังคม อย่างมีคุณธรรมและจิตสำนึกต่อสังคม จึงคิดค้นนวัตกรรมเพื่อสร้างความยั่งยืนทางธุรกิจผ่านงานวิจัย 4 กลุ่มหลัก ภายใต้การกำกับดูแลของศูนย์วิจัย 3 แห่งของคณะ ได้แก่
• Japanese Business Innovation Service Center หรือ JBIS เป็นศูนย์วิจัยด้านการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมและความยั่งยืน และ Start - Up Development Program มุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนามูลค่าเพิ่ม คุณค่าใหม่ของธุรกิจ รวมถึงถ่ายทอดองค์ความรู้และสนับสนุนนวัตกรรมการจัดการแบบญี่ปุ่น ส่งเสริม บ่มเพาะ สร้างการเติบโตของ Start - Up พร้อมกับการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการโดยแบ่งกลุ่มวิจัยออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
1. KOTODZUKURI (การสร้างเรื่องราว - Content & Creation)
มุ่งเน้นการวิจัยและนวัตกรรม ด้านการพัฒนาธุรกิจที่ยั่งยืนและ Start-Up เพื่อ "การพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมและความยั่งยืน" และ "การพัฒนาผู้ประกอบการใหม่" เช่น การวิจัยเพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ การเตรียมความพร้อมธุรกิจที่ยั่งยืนในประเด็นเกี่ยวกับ CBAM หรือมาตรการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน (Carbon Border Adjustment) ลดผลกระทบจากก๊าซเรือนกระจกในธุรกิจและภาระทางภาษีในการค้าระหว่างประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนทุนจากแหล่งทุนเพื่อการวิจัยภายนอก อาทิ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.), สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ประเภท Fundamental Fund (FF) (นักวิจัย: อ.พิชิต งามจรัสศรีวิชัย, ดร.เพ็ญพิมล วิไลรัตน์, ผศ.ดร.ปัณณทัต จอมจักร์, ผศ.ดร.ธันยมัย เจียรกุล)
2. OMOTENASHI (วัฒนธรรมการบริการสไตล์ญี่ปุ่น)
กลุ่มวิจัยความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวมูลค่าสูงและนวัตกรรมบริการ มุ่งเน้นการวิจัยและนวัตกรรมด้านการบริการและการสร้างคุณค่าทางธุรกิจในด้านการบริการแบบญี่ปุ่น Omotenashi การพัฒนานวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health and Wellness) การสร้างมูลค่าเพิ่มในสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยว โดยทีมนักวิจัยที่เชี่ยวชาญในธุรกิจบริการ การท่องเที่ยว นวัตกรรมการท่องเที่ยวและบริการ (นักวิจัย: ดร.ดวงดาว โยชิดะ, อ.อังค์วราภัชฑ์ ขำนาค, ดร.รุ่งอรุณ กระแสสินธุ์)
• Digital Lean Logistics Center of Excellence (DiLL) ภายใต้แนวคิด MONODZUKURI (การสร้างสรรค์สไตล์ญี่ปุ่น) ศูนย์วิจัยที่รวมความเชี่ยวชาญ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการบริการวิชาการ และวิจัยเฉพาะทาง ในด้านการวินิจฉัยและระบบการจัดการ ด้านการผลิตและโลจิสติกส์แบบลีน (Lean) ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสไตล์ญี่ปุ่น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและขจัดความสูญเปล่า (Wastes) การลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานด้านการผลิต การบริการ งานโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
โดยมีผลการดำเนินงานวิจัยที่โดดเด่นและความเชี่ยวชาญ อาทิ Smart Manufacturing & Logistics, Green Logistics, การประยุกต์ใช้ระบบการผลิตแบบ TPS ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์, Garment, Jewelry, Food เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีห้องปฏิบัติการและโครงการที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1.) Monodzukuri Research Center (TPS Training Simulation) 2.) Digital Lean & Logistics Academy 3.) โครงการ Center of Technology Transfer of Digital Lean 4.) Forklift Learning Center 5.) Kaizen Learning Center 6.) โครงการศูนย์ทดสอบมาตรฐานแรงงาน ซึ่งโครงการต่างๆ มีความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน เช่น NECTEC สวทช. /Toyota Warehouse Solutions Co., Ltd. / กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (นักวิจัย: ผศ.วิฐิณัฐ ภัคพรหมินทร์, อาจารย์วุฒิพงษ์ ปะวะสาร, อาจารย์พงศ์ศักดิ์ สายธัญญา, อาจารย์ธนยศ กุลฑล, อาจารย์วสันต์ กัลยา, อาจารย์ชีวาพร ไชยพันธ์)
• Japanese Human Resources Development (JHRD) ศูนย์พัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์สไตล์ญี่ปุ่น (HITODZUKURI) มุ่งเน้นงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านการพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์สไตล์ญี่ปุ่น ภายใต้ศูนย์การเรียนรู้ Japanese Technology and Knowledge Center (JTK Center) รวมถึงการวินิจฉัย ให้คำปรึกษา และถ่ายทอดนวัตกรรมด้านการพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์สไตล์ญี่ปุ่นไปยังองค์กรและภาคธุรกิจต่างๆ สร้างความร่วมมือกับเครือข่ายการวิจัย พัฒนานวัตกรรม บริการวิชาการ และถ่ายทอดองค์ความรู้ ด้าน Japanese Innovation Human Capital Development, Sustainable Development Goals -SDGs & Environment, Social, Governance-ESG (HR Focus) Learning center, Soft power & soft skill & culture Thai-Japanese style Learning Center และ Happy Work-Place Japanese style Learning Center เป็นต้น (นักวิจัย: ดร.เอิบ พงบุหงอ, ผศ.ดร.บุญญาดา นาสมบูรณ์, อาจารย์สุชีรา นวลทอง,อาจารย์ยุรนันท์ มูซอ, อาจารย์ จุฑามาศ ทันธิกุล)
SHARE :