ความท้าท้ายที่สำคัญในการเปิด “คณะเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อธุรกิจอุตสาหกรรม”

เมื่อเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ในปัจจุบัน TNI จึงเล็งเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีดิจิทัลที่จะมีต่อสังคม รวมถึงภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมในอนาคตอย่างแน่นอน รวมถึงการนำเอาสหวิทยาการ ทั้งทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ความรู้ด้านธุรกิจ และความรู้ด้านอุตสาหกรรม มาผนวกรวมเข้าด้วยกัน เป็น “คณะเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อธุรกิจอุตสาหกรรม” เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ทั้งทางด้านธุรกิจ ด้านอุตสาหกรรม รวมทั้งเทคโนโลยีดิจิทัล ไปพร้อมๆ กัน ซึ่งจะแตกต่างออกไปจากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้ที่จะเข้าศึกษาต่อ รวมถึงช่วยยกระดับสถาบันให้สามารถแข่งขันกับมหาวิทยาลัยอื่นๆโดยมีเป้าหมายหลัก

    1. เพื่อสร้างความหลากหลายให้กับการเรียนการสอนของสถาบันมากขึ้น 

    2. เพื่อเป็นการขยายฐานการศึกษาของสถาบันให้สามารถพัฒนา และเติบโตขึ้นได้

    3. เพื่อเป็นการเพิ่มความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล ธุรกิจ และอุตสาหกรรมสไตล์ญี่ปุ่นมากขึ้น

 “คณะเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อธุรกิจอุตสาหกรรม” จะเป็นที่น่าสนใจมากน้อยแค่ไหน?

    รศ.รังสรรค์ เลิศในสัตย์ อธิการบดี กล่าวว่า เนื่องจากในปัจจุบัน อุตสาหกรรมจะขาดมุมมองทางธุรกิจไม่ได้และบริบททางเทคโนโลยีดิจิทัลจะทำให้อุตสาหกรรมมีการเจริญเติบโตมากขึ้น ดังนั้นการรวมเอาเนื้อหาทั้งทางเทคโนโลยีดิจิทัล และเนื้อหาทางธุรกิจ มาเป็นหลักในการเรียนการสอนของคณะใหม่นี้จะช่วยตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมในทุกแง่มุม



โดยมีแนวทางการสอนที่นำเอาวิธีการจัดการข้อมูลทางสถิติ เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล (Data analytics) รวมทั้งการใช้สื่อดิจิทัลต่างๆ (Digital media) และเครื่องมือใหม่ๆ ทางเทคโนโลยีดิจิทัลที่ใช้ในกระบวนการจัดการ เช่น อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of things : IoT), หรือปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาควบรวมเข้ากับวิธีการบริหารจัดการด้านประสิทธิภาพและคุณภาพในสไตล์ญี่ปุ่นของภาคอุตสาหกรรม อาทิ

    • Kaizen แนวคิดในการพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง 

    • Smart Monodzukuri การพัฒนาเพื่อมุ่งสู่ระบบการผลิตอัจฉริยะ (Digital Manufacturing and Kaizen IoT) ด้วยต้นทุนที่เหมาะสม

    • TQM (Total Quality Management) ระบบการจัดการคุณภาพโดยรวม

    • TPM (Total Productive Maintenance) การบำรุงรักษาอุปกรณ์และเครื่องจักรในโรงงานโดยเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตและการลดต้นทุน

    • TPS การบริหารจัดการกระบวนการผลิต ด้วยหลักการ Toyota Production System

    • Lean ระบบการผลิตแบบลีน

    • Shindan การวินิจฉัยสถานประกอบการ 

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า คณะเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อธุรกิจอุตสาหกรรม จะช่วยสร้างบุคลากรรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความเข้าใจทางธุรกิจและเทคโนโลยีดิจิทัลให้กับภาคอุตสาหกรรม และสถานประกอบการได้ 

ทิศทางและเป้าหมาย เพื่อมุ่งสู่อนาคต

    รศ.รังสรรค์ เลิศในสัตย์ อธิการบดี ได้กล่าวต่อว่า หลักสูตรแรกจะเริ่มเปิดสอนในปีการศึกษา 2568 คือ หลักสูตรโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน (Logistics and Digital Supply Chain) โดยบัณฑิตจะได้วุฒิปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต และตั้งเป้าว่า นอกจากการรับนักศึกษาในภาคปกติที่เพิ่มขึ้นแล้ว อีกหนึ่งเป้าหมายหลักคือ TNI สามารถขยายฐานการรับนักศึกษาหลักสูตรเทียบโอนหน่วยกิต สำหรับผู้จบระดับ ปวส. ที่กำลังทำงานในภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมได้มากขึ้น 


และในปีการศึกษา 2569 จะเปิดหลักสูตร เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่ออุตสาหกรรม (Digital Technology for Industry) โดยหลักสูตรนี้จะมีเนื้อหาสุดเข้มข้น ประกอบด้วย
    • วิชาทางเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสไตล์ญี่ปุ่น เช่น การจัดการเทคโนโลยี,การผลิตแบบ Monodzukuri, ระบบการผลิตแบบโตโยต้า (TPS), การจัดการคุณภาพโดยรวม (TQM), การบำรุงรักษาอุปกรณ์และเครื่องจักรในโรงงานโดยเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตและการลดต้นทุน (TPM), Smart manufacturing ระบบการจัดการกระบวนการผลิตแบบดิจิทัล, Lean Manufacturing System ที่เน้นเรื่องของ Kaizen และการสร้างระบบ Lean เพื่อการลดต้นทุน  
    • วิชาทางเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of things: IoT), หรือปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) มาประยุกต์ใช้ในการจัดการอุตสาหกรรมด้านต่างๆ รวมทั้งการนำเอาศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น ระบบการจัดการข้อมูลผลิตภัณฑ์ (Product Data Management) หรือ Product Lifecycle Management ต่างๆ ในการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ เข้ามาใช้ด้วย  

นอกจากนี้ยังจะมีการสร้างศูนย์  Digital Lean Logistics Center of Excellence (DiLL) หรือศูนย์ความเป็นเลิศทางโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน โดยรวบรวมห้องปฏิบัติการด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชนมารวมไว้ด้วยกัน อาทิ SMART Logistics Center Dojo, Forklift & Logistics Technology Learning Center และ Monodzukuri Research Center เพื่อรองรับการเรียนการสอน และคณะฯ ยังตั้งเป้าหมายจะเปิดการเรียนการสอนให้ได้ 4 หลักสูตร ทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ภายในปี 2571 ด้วย

รายละเอียดเพิ่มเติม
สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
คณะเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อธุรกิจอุตสาหกรรม 


SHARE :