สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น มีการเรียนการสอนสไตล์ญี่ปุ่น มาตลาดเวลาเกือบ 20ปี จึงมีทั้งศาสตร์และศิลป์ ที่เรียกว่า Technology and Knowledge ของญี่ปุ่น หรือเกี่ยวกับญี่ปุ่นรวมทั้งสไตล์ญี่ปุ่นรวบรวมอยู่เป็นจำนวนมาก นับว่าเป็นสถาบ้นที่มี T&K มากที่สุดในประเทศไทย พร้อมที่จะนำเสนอและเผยแพร่แก่ผู้สนใจทั่วไป จึงได้จัดตั้งเป็น JTK Center ขึ้น ผู้สนใจในเทคโนโลยีและความรู้เหล่านี้สามารถค้นหาเนื้อหาเบื้องต้นได้ใน คอลัมภ์ JTK center ใน Website: tni.ac.th
เทคนิคการปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างง่ายแบบญี่ปุ่น โดยเริ่มต้นจาก 5S สะสาง สะดวก สะอาด สร้างมาตรฐาน และสร้างวินัย การใช้วิธีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในงาน การทำกิจกรรมคุณภาพแบบกลุ่มย่อย Quality Control Circle (QCC) และวิธีการวางแผนการทำงานแบบญี่ปุ่นด้วยเทคนิค PDCA ที่เริ่มจากการวางแผน (Plan), การดำเนินงาน (Do), การติดตามและประเมิน (Check), การปรับปรุงหรือสร้างมาตรฐานการทำงาน (Act)
Total Productive Maintenance (TPM) เป็นแนวทางการบำรุงรักษาเชิงรุกและป้องกันที่มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องจักร อุปกรณ์ในการทำงานขององค์กร โดยเกิดจากการมีส่วนร่วมของพนักงานทุกคนในองค์กร เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์และทรัพยากรทางธุรกิจ โดยเฉพาะด้านกระบวนการผลิตที่สมบูรณ์แบบ ลดการหยุดชะงักและข้อบกพร่องจากการทำงาน
Total Quality Management (TQM) เป็นแนวทางการจัดการที่มุ่งเน้นการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องของกระบวนการทางธุรกิจ โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของพนักงานทุกคนในองค์กร เพื่อให้เกิดความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า ซึ่งหมายรวมถึงลูกค้าภายในองค์กร (Internal customer) และลูกค้าภายนอกองค์กร (External customer)
Toyota Production System (TPS) เป็นระบบการผลิตแบบญี่ปุ่นโดยแท้ ที่พัฒนาโดย Toyota โดยมีเป้าหมายหลักในการกำจัดของเสียและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตผ่านหลักการการผลิตแบบทันเวลาพอดี (Just-in-Time) และการใช้ระบบอัตโนมัติเพื่อป้องกันความผิดพลาดในกระบวนการ (Jidoka) ระบบนี้ช่วยให้การผลิตสินค้ามีคุณภาพสูงและการจัดการต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม
Lean Manufacturing System เป็นระบบการผลิตแบบสากล ที่มุ่งเน้นการลดของเสีย(Waste & Loss Reduction) และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต (Efficiency) โดยใช้หลักการของการผลิตแบบทันเวลาพอดี (Just-In-Time) การวิเคราะห์ Value Stream Mapping (VSM) และใช้เทคนิคการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) เพื่อสร้างคุณค่าสูงสุดให้กับลูกค้าและองค์กร
เทคนิคการวินิจฉัยองค์กร (Enterprise Diagnosis) เป็นกระบวนการที่ใช้ในการประเมินและวิเคราะห์การดำเนินงานขององค์กร เพื่อระบุปัญหา (problem statement) และโอกาสในการปรับปรุง (opportunities for improvement: OFI) โดยประกอบด้วยการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการให้ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีมิติในการวินิจฉัยหลักขององค์กร เช่น ด้านการบริหารจัดการ ด้านการบัญชีและการเงิน ด้านการดำเนินงาน (การผลิต/การบริการ/การค้า) ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล ด้านการขายและการตลาด ด้านการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
Smart Manufacturing คือ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดระบบที่ช่วยให้การดำเนินงานมีความยืดหยุ่นสูง (Flexible) สามารถปรับเปลี่ยนได้รวดเร็วตามความต้องการของลูกค้าและเทคโนโลยีในอนาคต นอกจากนี้ยังช่วยลดข้อผิดพลาดจากมนุษย์ (Human Error) และเพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์ (Product Quality) นอกจากนี้ Smart Manufacturing ยังรวมถึงการใช้เทคโนโลยีอัตโนมัติแบบต้นทุนต่ำ (Low Cost Automation) เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อข้อมูลภายในองค์กรได้แบบเรียลไทม์ โดยเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่จริงกับพื้นที่เสมือน (Physical-Cyber Areas)
Monodzukuri เป็นแนวคิดการผลิตแบบญี่ปุ่นที่เน้นการสร้างสรรค์และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง สามารถประยุกต์ใช้ร่วมกับกระบวนการ On the Job Training (OJT) เพื่อฝึกอบรมพัฒนาทักษะของพนักงานในสถานที่ทำงานจริง เพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญด้านการผลิต ปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิต
การบริหารแบบญี่ปุ่น ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของการกำเนิดระบบการบริหารแบบญี่ปุ่น ลักษณะพิเศษของการบริหารแบบญี่ปุ่น เช่น ระบบอาวุโส การจ้างงานตลอดชีพ การที่ทุกคนมีส่วนร่วม ระบบ Top-down, Bottom up ในการสั่งงาน ระบบและกระบวนการตัดสินใจสไตล์ญี่ปุ่น ลักษณะโครงสร้างองค์กร การเลื่อนขั้นเลื่อนระดับ ระบบ Rotation แนวทางการประเมินผล แนวทางการพัฒนาบุคลากร การตั้งเป้าหมายและดำเนินการทางธุรกิจ
การตลาดสไตล์ญี่ปุ่น ประกอบด้วยกลยุทธ์ทางด้านผลิตภัณฑ์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตั้งราคา การส่งเสริมการตลาด และช่องทางการตลาดสไตล์ญี่ปุ่น พฤติกรรมและวัฒนธรรมการบริโภคของผู้บริโภคของคนญี่ปุ่น กรณีศึกษาความสำเร็จของการตลาดสไตล์ญี่ปุ่น การตลาดระดับโลกของญี่ปุ่น โอกาสและอุปสรรคของการเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่น
แนวคิดและระบบการสื่อสารภายในองค์กรให้เกิดความราบรื่น ทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล โครงสร้างองค์กร ที่เอื้อต่อการสื่อสารให้ได้ผล การสื่อสารตามระบบ Bottom up , Middle Up ลักษณะพิเศษของการรายงาน (Hokoku) จากระดับล่างสู่ระดับบน การประสานงาน (Renraku) ในแนวนอน ทั้งภายในฝ่ายงานและระหว่างฝ่ายงาน การขอคำปรึกษาและให้คำปรึกษา (Sodan) แนวทางและรูปแบบของการให้คำปรึกษา ต่างๆ กระบวนการตัดสินใจต่างๆ
การบริหารแบบอมีบา ประกอบด้วยปรัชญาแนวคิดของ Inamori การแบ่งหน่วยงานภายในองค์กรให้มีขนาดเล็ก และสามารถดำรงอยู่ได้แบบอมีบา และมีความสามารถประสานงานได้กับหน่วยงานอื่นๆ การกำหนดหน่วยงานสร้างกำไร (Profit center)ให้มีมากที่สุด การสร้าง Internal profit center การสร้างระบบการบัญชีให้สามารถรายงานผลการประกอบการของหน่วยงานต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ทันที (Real time) ตัวอย่างการนำเอาการบริหารแบบอมีบาเข้ามาใช้ในธุรกิจสาขาต่างๆ จนประสบความสำเร็จ
การให้การบริการแบบญีปุ่น ความหมายของการบริการแบบญี่ปุ่น ที่มา และประวัติศาสตร์ของการบริการแบบญี่ปุ่น การบริการแบบญี่ปุ่น Omotenashi เปรียบเทียบกับการบริการแบบอื่นๆ ประโยชน์ของการนำเอาการบริการแบบญี่ปุ่นเข้ามาใช้ในธุรกิจยุคใหม่ รูปแบบของการบริการแบบญี่ปุ่นในธุรกิจต่างๆ กระบวนการปฏิบัติในการให้บริการแบบญี่ปุ่น
“ เก่งคิด เก่งงาน ” กระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ ผ่านการเรียนรู้พัฒนาตามแนวคิด Monozukuri – Hitozukuri “ การสร้างของ คือการสร้างคน ” เป็นการสร้างบุคลากรให้ มีจิตสำนึกที่ดี มีวินัย ความรับผิดชอบต่องานและเพื่อนร่วมงาน ตามแนวคิด Hansei-Kaizen-Omotanashi-HoRenSo (การคิดทบทวน การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การบริการสไตล์ด้วยใจ การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ) พร้อมปลูกฝังการทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำที่คิดเชิงระบบ “ มองคนออก ใช้คนเป็น ” การพัฒนาองค์กรในสไลต์ญี่ปุ่น ให้มีปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ เพื่อสังคม องค์กร พนักงาน ให้มีความมั่นใจและมั่นคง ด้วยแนวคิดการที่ทุกคนมีส่วนร่วม
การบริหารทรัพยากรมนุษย์แบบญี่ปุ่น ที่เน้น “คุณภาพ คุณธรรม” ผ่านการบริหารนโยบาย(Hoshin Kanri ) และตัดสินใจสไตล์ญี่ปุ่น ตามกระบวนการ วงจร PDCA (Plan-Do-Check-Act) เป็นระบบการบริหารนโยบายให้ความสำคัญกับ ทิศทาง (Direction) เป้าหมาย (Target) และวิธีการ (Means) พร้อมกันทุกมิติ เน้นการทำงานร่วมกันของทรัพยากร ด้วยแนวคิดด้านคุณภาพ เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุด มีกระบวนการสรรหาคัดเลือกบุคลากร การบริหารค่าตอบแทนและสวัสดิการ การเติบโตตามเส้นทางอาชีพ ตามกรอบ Quality Control Circle (QCC) ให้ความสำคัญกับจำนวนพนักงาน ความสามารถของพนักงาน และความปลอดภัยพนักงาน
“ องค์กรแห่งความสุข มีคุณภาพ ” ตามแนวคิด Monozukuri-Hansei-Kaizen-HoRenSo-Omotanashi และแนวคิด Happy work-place เป็นกระบวนการสร้างองค์กรแห่งความสุข ผ่านการดำเนินกิจกรรมทุกมิติ สู่เป้าหมายขององค์กร บุคลากรมีความสุขและมีคุณภาพ ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพ องค์กรมีภาพลักษณ์ที่ดี เป็นที่ยอมรับของสังคม สู่การดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน
ภาษาญี่ปุ่นตั้งแต่ขั้นนเริ่มต้น(Beginner) ขั้นกลาง (Intermediate) และขั้นสูง (Advanced) เมื่อเรียนขั้นสูงจบแล้ว สามารถสอบวัดระดับ JLTP ระดับ N2 ขึ้นไปได้ และยังมีการสอนพิเศษ เพื่อ สอบให้ได้ในระดับN1 ดำเนินการสอนด้วยอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญการสอนทั้งชาวไทยและชาวญี่ปุ่น
ภาษาญี่ปุ่นสำหรับกรณีพิเศษ เช่น ภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ ภาษาญี่ปุ่นเพื่อการนำเสนอ ภาษาญี่ปุ่นเพื่อการเป็นนักแปลและเป็นล่าม รวมทั้งภาษาญี่ปุ่นเพื่อศาสตร์ต่างๆ เช่น วิศวกรรมศาสตร์ ไอที การท่องเที่ยว ภาษาญีปุ่นธุรกิจ ภาษาญี่ปุ่นเพื่อบริหารบุคลากร เป็นต้น
ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมญี่ปุ่น ตั้งแต่ยุคกลาง ที่เป็นแห่งกำเนิดประเพณี พิธีการต่างๆ การปกครองด้วยระบบโชกุน เป็นประวัติศาสตร์ ยุคเดิม ส่วนวัฒนธรรมยุคใหม่คือยุคที่หลังการเปลี่ยนการปกครองเป็นระบบประชาธิปไตย ประมาณ 150 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะ ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ที่ญี่ปุ่นก้าวสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก เป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ
อาจารย์ปราโมท วิเศษโวหาร
อาจารย์ณรงค์เกียรติ นักสอน
อาจารย์อุดม สลัดทุกข์
อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ นันทกสิกร
อาจารย์ฐิติ บุญประกอบ
อาจารย์สุรเดช ภัทรวิเชียร
ดร.ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์
ผศ.วิฐิณัฐ ภัคพรหมินทร์
อาจารย์วุฒิพงษ์ ปะวะสาร
ดร.เอิบ พงบุหงอ
อาจารย์พิชิต งามจรัสศรีวิชัย
ดร.เพ็ญพิมล วิไลรัตน์
ดร.ดวงดาว โยชิดะ
รศ.รังสรรค์ เลิศในสัตย์
ผศ.ดร.วรรณวิมล รุ่งธีระ
ดร.ดอน แก้วดก
ดร.มหรรณพ ฟักขาว
อาจารย์บุญชู ตันติรัตนสุนทร
ดร.นันทชัย สัสดีอ่อง
ดร.บุญญาดา นาสมบูรณ์
อาจารย์ปริญญา เร่งพินิจ
อาจารย์ภิญโญ เอกอุรุชัยเทพ
ดร.วรรณพล ศุภสกุลดำรงค์